ตอนที่ 8

สร้างวิทยุรับส่ง HF ใช้เอง SW-20 จาก Small Wonder Labs (ตอน 8 วงจร PA และวงจรกรองสัญญาณ )

วงจรภาคขยายกำลังส่งภาคสุดท้าย หรือว่า PA รวมทั้งวงจรกรองสัญญาณแบบ Low pass filter (Chebyshev) ส่วนนี้ประกอบด้วย อุปกรณ์ดังนี้ D6, R29, Q6, L2, C113, D12, C36, C37, L3, C38, L4, และ C39.




ปรับ R24 ให้มีค่าต่ำสุดก่อน เพื่อให้กำลังส่งออกน้อยที่สุด (ป้องกันความเสียหายถ้าเราต่อวงจรผิดพลาด) ต่อ วัตต์มิเตอร์ และดัมมี่โหลด (ตัวอย่างผมต่อ R50 โอห์มแทนดัมมี่โหลด เพื่อทดสอบวงจร) จากนั้นก็ปรับแต่งกำลังส่งให้ได้ตามต้องการ โดยปรับ R24 และอาจจะลองปรับแต่งที่ L3,L4 ช่วยได้เล็กน้อย

ถ้าเราไม่มีเครื่องมือในการวัดกำลังส่ง เราสามารถใช้วงจรดังรูป ต่อร่วมกับมัลติมิเตอร์ (ปรับไปที่โวลต์มิเตอร์) ของเราได้ โดยปรับแต่ง T2 และ T3 สลับกันไป ให้วัดแรงดันมากที่สุด

วงจรนี้ใช้ทรานซิสเตอร์เบอร์ 2SC2166 เราอาจจะปรับกำลังส่งได้มากถึง 5 วัตต์ได้ แต่ทรานซิสเตอร์จะร้อน อาจจะต้องติดตั้งแผ่นระบายความร้อน คิตชุดนี้ ไม่ได้แถมแผ่นระบายความร้อนมาด้วย เนื่องจากออกแบบไว้ที่กำลังส่งไม่เกิน 2.5 วัตต์ ทรานซิสเตอร์ไม่ถึงกับร้อนครับ  

วัตต์สูงเกินกว่าที่กำหนดไม่ดีเพราะว่ายิ่งวัตต์สูงยิ่งเกิดความร้อน เป็นสาเหตุให้วงจร VFO ผลิตความถี่คลาดเคลื่อนไป (driftier) ปรับแค่ใหนถึงเหมาะสม ให้ลองฟังเสียง side tone ถ้ามีความผิดเพี้ยนแสดงว่าเราปรับกำลังส่งมากไป ให้ลดกำลังส่งลงโดยที่ปรับ R24 ครับ


ข้อมูลเสริม

วงจรวิทยุรับส่งชุดนี้ และวงจร QRP ทั่ว ๆ ไปมักจะมีไม่วงจร Automatic Level Control (ALC) เอาไว้ควบคุมกำลังส่ง มันจะลดกำลังส่งทันทีที่เครื่องส่งมีปัญหา เช่น ความร้อนเกิน SWR สูงเกิน เป็นต้น (วิทยุรับส่งของเราไม่มีวงจรป้องกัน ดังนั้นเราต้องระมัดระวังเอาเอง)



รูปตัวอย่างวงจร ALC ในวิทยุรับส่ง วงจรนี้จะคอยดูว่า SWR และความร้อนสูงเกินไปหรือไม่ ถ้าเกินกำหนด วงจรนี้จะสั่งให้ลดกำลังส่งลง เพื่อป้องกันความเสียหายกับภาคขยายกำลัง (PA)

เพิ่มวงจร QRP RF current meter

ตัวอย่างวงจร RF current meter แบบง่าย ๆ โดยนำกำลังส่งบางส่วนซึ่งน้อยมาก มาขับมิเตอร์ โดยใช้ทรานซิสเตอร์ เป็นตัวช่วยขยายกระแส 


วงจรตัวอย่างใช้แผ่นปริ้นขนาดเล็ก ตัดดังรูป ประกอบแบบ  manhattan stye เพื่อให้ดูเป็น วิทยุ แบบ QRP ยิ่งขึ้น

วงกลมสีขาว ๆ เป็นสติกเกอร์นะครับ เมื่อติดสติกเกอร์ได้ประมาณนี้ก็นำไปแช่ในน้ำยากัดปริ้นได้เลย




การวัดกระแสที่ไหลผ่านสายอากาศแบบนี้ ใช้ดูว่ากระแสเพิ่มเพิ่มขึ้น ลดลง หรือดูการทำงานของเครื่องส่งเท่านั้น ไม่ได้วัดปริมาณออกมาเป็นแอมป์


ตัวอย่างเครื่องต้นแบบที่ใส่วงจร RF current meter



ตัวอย่างวัดกระแสที่โหลด 50 โอห์ม ผมปรับให้สเกลอยู่กลาง ๆ จอ


วัดที่โหลด 10 โอห์ม กระแสไหลมาก จนล้นสเกล รวมทั้ง ทรานซิสเตอร์ PA ร้อนด้วย 


คราวนี้ลองวัดที่โหลด 82 โอห์มบ้าง ผลก็อย่างในรูปครับ กระแสไหลน้อย