ตอนที่ 9-10

ตอน 9 วงจรขยายเสียงและวงจร Mute Switch

หลังจากสร้างภาคส่งเสร็จเรียบร้อยแล้ว คราวนี้เริ่มต้นภาครับกันครับ โดยเราจะแบ่งภาครับออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นภาคขยายเสียง เราจะทำจากด้าน ลำโพง ไล่ไปหาสายอากาศ

ประกอบด้วย C20,C21,C22,C23,C26,C27,C106,C107, U4,Q1,D3,D4,D5, R2,R3,R4,R5,R6,R7,R8,R9,R10,R11,R12,R13,R14











การทดสอบ


จะมีเสียงดังแบบเดียวกับในวีดีโอ เมื่อเอามือไปแตะที่ C20 และ C21 และขณะส่ง (ให้กดคีย์) สัญญาณเสียงที่ดังจะหายเงียบไป ถ้าทำได้แบบนี้ถือว่า วงจรนี้สำเร็จครับ




ตอน 10 วงจรภาครับส่วนหน้า

ชุดนี้เป็นขั้นตอนสุดท้ายสำหรับการประกอบวิทยุชุดนี้แล้วครับ 
รายการอุปกรณ์ประกอบด้วย D7,D8,D9,D10,RFC3,C40, โวลุ่ม 5 K แบบ B (ต้องจัดหาเอง) T1, C27,C101,U1,C11,C12,Y1,Y2,Y3,C13,C14,  R1,U3,Y4,C16,C17,C18,C19





เมื่อประกอบวงจรเสร็จให้ลองต่อสายอากาศหรือสายลวดยาว 2-3 ฟุตแล้วปรับจูน T1 ให้รับสัญญาณ Noise ได้แรงที่สุด เป็นอันใช้ได้ครับ วงจรชุดนี้อาจจะใช้ได้ดีกับหูฟัง ถ้าท่านใดต้องการเสียงดัง ๆ ออกลำโพงให้ต่อวงจรขยายขนาดเล็กเพิ่มเข้าไปครับ โดยเลือกแบบที่ใช้ไฟ 12 โวลต์ กำลังไม่ต้องสูงมาก

ตัวอย่างการทดลองภาครับ (รับด้วยสายอากาศไดโพล)



















สำหรับความถี่แล้ว เราจะรับสัญญาณได้ในช่วงเวลา ค่ำ ๆ จนถึงดึก ส่วนหลังเที่ยงคืนไปแล้ว สัญญาณต่าง ๆ มักจะหายไป 

 ข้อมูลเสริม

สำหรับภาครับของวิทยุรับส่ง QRP ส่วนใหญ่จะไม่มีวงจร AGC ซึ่งย่อมาจาก Automatic gain control ที่จะคอยรักษาระดับความแรงของสัญญาณที่รับเข้ามาให้คงที่ ดังนั้น วงจร QRP จะมีระดับความแรงของภาครับที่ต่างกันมาก บางช่วงรับได้ อาจจะดังมาก แต่ไม่นานสัญญาณก็จางหายไปอย่างรวดเร็ว ปกติย่าน HF ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณแบบนี้อยู่แล้ว แต่เครื่องที่มีวงจร AGC จะรักษาระดับได้ดีกว่า 




ตัวอย่างวงจร AGC ถ้าสัญาณที่รับได้มีความแรงน้อย วงจร AGC จะส่งแรงดันไปเพิ่มอัตราการขยายภาค RF Amp และ IF Amp ขึ้นอีก

วงจร Product Detector

  วงจร BFO (beat frequency oscillator) ของเราจะผลิตความถี่ ขึ้นสูงกว่า ความถี่ IF เล็กน้อย คือประมาณ 9.0008 MHz หรือสูงกว่า 800 Hz เป็นโทนเสียงมอร์ส ออกลำโพง   

 แร่ Y4, C16,C17,C18 รวมกันเป็นวงจรกำเนิดความถี่ BFO และ C16 เป็นตัวหลักในการยกค่าความถี่ของ Y4 ให้สูงขึ้นเล็กน้อย เช่นเดียวกับที่ภาคส่ง มี RFC2 เป็นตัวดึงความถี่ให้ต่ำลงเล็กน้อย

ทดลองรับ SW40 เทียบกับ ICOM IC-718

ทดลองรับโดยใช้สายอากาศต้นเดียวกัน เปิดรับพร้อม ๆ กัน โดยเสียงทุ้มจะเป็นของ IC-718 และเสียงแหลมเป็น ของ SW40