ตอนที่ 4

สร้างวิทยุรับส่ง HF ใช้เอง SW-20 จาก Small Wonder Labs (ตอน 4 วงจรคีย์สวิชและ mixer ภาคส่ง )

รายการอุปกรณ์ทั้งสอง ภาคนี้ประกอบด้วย R21, R20, Q3, C111, C110, R19, D11, C109, U5, C108, C28, C29,RFC2, และ Y5.



วงจรคีย์สวิช เป็นวงจรตัดต่อการรับส่ง ขณะที่เรากดคีย์ จะมีไฟ 7 โวลต์ ไปเลี้ยงภาคส่ง ทำให้ภาคส่งทำงาน และส่งสัญญาณไปยังภาครับ ให้ปิดเสียงไม่ให้ออกลำโพง




ส่วนวงจร Mixer ของภาคส่ง จะรับสัญญาณจากวงจรกำเนิดความถี่ VFO มาผสมกับความถี่ที่ตัวเองผลิตขึ้นมา 9 MHz โดยใช้แร่ Y5 เป็นตัวกำหนดความถี่ เมื่อผสมกันเสร็จ ก็จะได้ความถี่ผลรวมเท่ากับ 14 MHz (ตามที่เราตั้งใจไว้ในตอนแรก ว่าเราจะสร้างวิทยุรับส่งความถี่ 14 MHz) อาจจะมีบางคนสงสัยว่าทำไมต้องไปยุ่งกับความถี่ 5 MHz ในวงจร VFO ให้มันเสียเวลา ถ้าวงจร VFO ผลิตความถี่ออกมาผิดจากที่เราต้องการ ผ่านวงจร Mixer ก็จะพิดพลาดต่อไปอีกครับ ดังนั้น ต้องทำให้ความถี่ VFO ถูกต้องก่อนดีที่สุด

การทดสอบวงจรคีย์





เมื่อประกอบวงจรได้เสร็จเรียบร้อย และตรวจสอบความถูกต้องแล้ว ให้ทดสอบวงจรคีย์โดย นำมิเตอร์ไปวัดแรงดัน 7 โวลต์ที่ขา 8 ของ IC U5 จากนั้นให้ จัมขา 3 ของ J3 ลงกราวด์ (ขาคีย์) สังเกตว่าจะมีไฟ 7 โวลต์ ไปเลี้ยง U5 ตามจังหวะการกดคีย์ ถ้าเป็นไปตามนี้แสดงว่าจงจรคีย์ถูกต้องครับ





การทดสอบ Mixer ภาคส่ง 






นำเครื่องรับวิทยุมาวางใกล้ เปิดไว้ที่ แถว ๆ 14 MHz จากนั้นลองกดคีย์ส่งดู จะมีสัญญาณออกไปยังเครื่องรับ ลองดูวีดีโอตัวอย่างประกอบครับ


การเปลี่ยนความถี่ Sidetone 

sidetone เป็นเสียงที่ออกลำโพง เวลาส่งสัญญาณ เพื่อให้เรารู้ว่าเราส่งอะไรไปบ้าง เป็นการอำนวยความสะดวกกับผู้ใช้ เราสามารถเปลี่ยนความถี่ได้ ถ้าโทนเสียงที่ออกมา ทุ้มหรือแหลมไป โดยการเปลี่ยนค่า C29


ตัวอย่างเสียง sidetone ของเครื่องต้นแบบ







 Sidetone ของวงจร qrp ชุดนี้เกิดจาก ความแตกต่างของความถี่ OSC ของภาคส่งและวงจร BFO ของภาครับ ประมาณ 800 Hz